วันพฤหัสบดีที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2551

สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

วิหารพระมงคลบพิตร
พระมงคลบพิตร เป็นพระพุทธรูปอิฐบุทองสัมฤทธิ์สีดำตลอดองค์ เพราะเคลือบรักไว้ สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยสมเด็จพระไชยราชา ราว พ.ศ.2081 สำหรับเป็นพระพุทธรูปประจำวัดซีเซียง ประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง ต่อมาในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ชลอพระมงคลบพิตรมาไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของวัดพระศรีสรรเพชญ์ และสร้างมณฑปครอบไว้ ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระ เจ้าเสือเกิดฟ้า ผ่าเครื่องมณฑปพังลงมาต้องพระศอหักก็โปรดเกล้าฯ ให้รื้อซากมณฑปสร้างใหม่ และซ่อมพระศอให้เหมือนเดิม จนเมื่อ พ.ศ.2310 เสียกรุงศรีอยุธยา วิหารพระมงคลบพิตรถูกไฟไหม้ทรุดโทรม พระเมาฬี และพระกรขวา หัก ในสมัยรัชกาลที่ 5 พระยาโบราณราชธานินทร์ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่ง สมุหเทศาภิบาลมณฑลอยุธยาได้ซ่อมองค์พระด้วยปูนปั้น และในปี พ.ศ.2535 วิหารพระมงคลบพิตรทั้งองค์ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยที่มีขนาดใหญ่มาก ที่สุดองค์หนึ่งของประเทศไทย
วัดไชยวัฒนาราม
อยู่ริมแม่น้ำฝั่งเดียวกับวัดพุทไธสวรรค์ แต่อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของเกาะเมือง พระเจ้าปราสาททอง โปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดไชยวัฒนารามขึ้นในปี พ.ศ.2173 เพื่ออุทิศวายให้เป็นอนุสรณ์สถาน ณ บ้านเดิมของพระราชมารดาและเพื่อเฉลิม พระเกียรติในการเสด็จขึ้นครองราชย์ด้วยทรงมีพระราชนิยมศิลปะแบบขอม วัดนี้จึงมีสถาปัยกรรมรูปปรางค์ ประกอบด้วย พระปรางค์ศรีรัตนมหาธาตุเป็นองค์ประธานสูงเด่นอยู่ท่ามกลาง ปรางค์ทิศและปรางค์รายทั้ง 8 ทิศ สันนิษฐานว่า แต่เดิมในคูหาปรางค์ประธาน เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาต ุหรือ สิ่งอันควรบูชาอื่น ๆ พระอุโบสถวัด อยู่ทางด้านตะวันออกของพระปรางค์ มีซากพระประธานเป็น พระพุทธรูปปรางค์มารวิชัย สร้างด้วยหินทราย และที่ฐานประทักษิณด้านทิศเหนือมีฐานรากของเจดีย์ 3 องค์ ตั้งเรียงกัน สันนิษฐานว่าเป็นที่บรรจุพระอัฐิเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร (เจ้าฟ้ากุ้ง รัตนกวีแห่งกรุงศรีอยุธยา) เจ้าสังวาลย์ และเจ้าฟ้านิ่มพระสนมเอก ในพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ปัจจุบันเป็นวัดร้าง แต่ยังมีพระปรางค์ ใหญ่และเจดีย์รายตามมุมคงเหลืออยู่และรูปทรงยังสมบูรณ์ดีเป็นส่วนมาก

วัดหน้าพระเมรุ
พระองค์อินทร์ ในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ทรงสร้างวัดหน้าพระเมรุเมื่อ พ.ศ.2046 เดิมชื่อ วัดเมรุราชิการาม อยู่ริมสระบัว ตรงข้ามพระราชวังหลวง ครั้งแผ่นดินพระมหา จักพรรดิ์ได้ทรง ตั้งพลับพลาระหว่างวัดหน้าพระเมรุและวัดหัสดาวาสเป็นที่ทำสัญญาสงบศึกกับ พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง สถาปัตยกรรมของวัดอยู่ในสมัยอยุธยาตอนต้นคือ พระอุโบสถไม่มี หน้าต่างแต่เจาะช่องไว้เป็นลูกกรง พระประธานเป็นพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ทรง เครื่องปราง มารวิชัย งดงามเป็นที่ยิ่ง หน้าบันไม้สักลงรักปิด ทองสลักรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ หยุดเศียรนาคหน้าราหูล้อมรอบด้วยหมู่เทพพนม 26 องค์ ตรงอาสนสงฆ์มีจารึก เป็นกาพย์ ์สุภาพและกาพย์ยานี วัดหน้าพระเมรุได้รับการปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ วิหารน้อยหรือ วิหารเขียน มีบานประตูไม้แกะสลักฝีมือช่างสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ภายในเคยมีจิตรกรรมฝาผนังโดยรอบปัจจุบันลบเลือนมาก และมีพระพุทธรูปประทับห้อย
วัดพนัญเชิง
อยู่ริมแม่น้ำทางด้านทิศใต้ของพระนครศรีอยุธยา เป็นวัดที่มีมาก่อนสร้างกรุงศรีอยุธยา เดิมใครเป็นผู้สร้างไม่ปรากฏหลักฐาน พระพุทธรูปซึ่งเป็น พระประธานในพระวิหาร นั้นชื่อ "พระเจ้าพนัญเชิง" สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ 1867 ในปี พ.ศ 2397 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงบูรณะใหม่ทั้งองค์ และถวายพระนามว่า "พระพุทธไตรรัตนนายก" นับเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยที่มีอายุมากที่สุด และใหญ่ที่สุดในประเทศไทยหน้าตักกว้าง 20.17 เมตร และสูงจากชายพระชงฆ์ถึง พระรัศมี 19 เมตร
วัดมหาธาตุ
วัดมหาธาตุเป็นวัดใหญ่คู่กับวัดราชบูรณะ ในพงศาวดารกล่าวว่า เริ่มสร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพงั่ว) พ.ศ.1917 มาแล้วเสร็จในสมัยพระราเมศวร และมีการก่อสร้างบำรุงรักษามาตลอดจนเสียกรุงในปี พ.ศ.2310 ทำให้มีสิ่งก่อสร้างที่สวยงามและสำคัญอยู่ มากมายโดย เฉพาะวิหารหลวงขนาดใหญ่ที่เจาะผนังเป็นช่องแทนหน้าต่างพระปรางค์ประธาน ของวัดซึ่งเคยเป็นที่ ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุเดิมมีความสูงจากฐานถึงยอดประมาณ 50 เมตร และพังลงมาครั้งหนึ่งในสมัยสมเด็จ พระเจ้าทรงธรรม พอถึงสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ทรงให้บูรณะซ่อมแซมจนมีความสูงกว่าที่สร้างครั้งแรก แต่ในปัจจุบันพระปรางค์เหลือเพียงส่วนฐาน เพราะหักพังลงมาอีกครั้งในปี พ.ศ.2454 รัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
วัดเจ้าพญาไท หรือ วัดใหญ่ไชยมงคล
เมื่อ พ.ศ.1900 พระเจ้าอู่ทองทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปลงศพเจ้าแก้วเจ้าไทย ที่ปลงศพ นั้นให้สถาปนาพระเจดีย์และวิหารเป็นพระอารามชื่อ วัดป่าแก้ว และโปรดเกล้าฯ ให้เป็น สำนักสงฆ์เรียกคณะป่าแก้ว ปฎิบัติทางวิปัสสนาธุระ ต่อมาได้ขนาดนามว่า วัดเจ้าพระยาไทย เพราะเป็นที่สถิตของสมเด็จพระวันรัตพระสังฆราช ฝ่ายขวา ซึ่งในสมัยโบราณเรียกพระสงฆ์ว่า เจ้าไทย ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พ.ศ.2135 ทรงได้ชัยชนะใน การทำยุทธหัตถึ สมเด็จพระวันรัตวัดป่าแก้ว ซึ่งขอพระราชทานอภัยโทษแก่นายทัพนายกอง ที่ตามเสด็จไม่ทันได้กราบ บังคมทูลให้ทรงสร้างพระเจดีย์ใหญ่เฉลิม พระเกียรติที่ตำบลหนองสาหร่าย จังหวัดสุพรรณบุรี และที่วัดเจ้าพระยาไทย ให้เป็นคู่กับเจดีย์ภูเขาทองที่พระเจ้าหงสาวดีสร้างไว้พระเจดีย์นี้มีขนาดสูงใหญ่ทรง ระฆัง (ปัจจุบันสูงประมาณ 60 เมตร) ขนาดนามว่า พระเจดีย์ชัยมงคลแต่เรียกเป็นชื่อสามัญว่า พระเจดีย์ใหญ่ต่อมาจึงเรียกชื่อวัดนี้อีกชื่อหนึ่งว่า วัดใหญ่ชัยมงคล
ตำหนักพระนครหลวง
อยู่ริมแม่น้ำป่าสักฝั่งทิศตะวันออก ตำบลนครหลวง เป็นที่ประทับในระหว่างเสด็จไปพระพุทธบาทที่สระบุรี และเป็นที่ประทับแรมในระหว่างเสด็จลพบุรี สันนิษฐานว่าสร้างในรัชกาล สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม แต่มาสร้าง เป็นที่ประทับก่ออิฐถือปูนในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ในแผ่นดินนี้พระองค์โปรดฯ ให้ช่างไป ถ่ายแบบ ปราสาทศิลาที่เรียกว่า "พระนครหลวง" ในกรุงกัมพูชา เมื่อ พ.ศ.2174 มาสร้างใกล้วัดเทพจันทร์ เพื่อเป็นการเฉลิม พระเกียรติที่ได้กรุงกัมพูชากลับมาเป็นประเทศราชอีก แต่สร้างไม่เสร็จสมบูรณ์ด้วย ประการใดไม่ปรากฏ ต่อมา จึงมีผู้สร้างมณฑปและพระบาทสี่ร้อยขึ้นบนประสาทนี้ ส่วนตำหนักที่สร้าง ข้างปราสาทนี้ได้ปรักหักพังหมดแล้ว
ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร
จัดตั้งขึ้นในเขตที่ดินปฏิรูปเพื่อการเกษตร ตำบลช้างใหญ่ อำเภอบางไทร มีเนื้อที่ทั้งหมดเกือบ 1,000 ไร่ ศูนย์ศิลปาชีพนี้มุ่ง ฝึกอบรมอาชีพเกี่ยวกับ งานศิลปหัตถกรรมต่าง ๆ วิชาที่สอนให้แก่เกษตรกร ได้แก่ การประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์จากเส้นใย พืช การแกะสลัก การทำตุ๊กตา การประดิษฐ์ ดอกไม้เทียม การทำเครื่องเรือน การทอผ้า การย้อมสี และผลิตภัณฑ์จาก ผ้า ผลิตภัณฑ์ที่เสร็จแล้วมีจำหน่ายที่ศูนย์ศิลปาชีพ บางไทรฯ การเดินทางไปยังศูนย์ฯ สามารถไปทางเรือตามลำน้ำ เจ้าพระยา มาขึ้นที่ท่าของศูนย์ หรือไปทางรถยนต์ เมื่อถึงอำเภอบางปะอินแล้วมีทางแยก เข้าสู่สายบางไทร-สามโคก ระยะทาง 24 กิโลเมตร ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร เปิดให้เข้าชมทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ และวังปลาจะปิดเฉพาะวันจันทร์ และวันอังคาร
วัดราชบูรณะ
วัดราชบูรณะตั้งอยู่ข้างวัดมหาธาตุ สร้างขึ้นใน สมัยสมเด็จ พระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสมพระยา) เมื่อ พ.ศ.1967 ตรงบริเวณถวาย พระเพลิงศพเจ้าอ้ายพระยา และเจ้ายี่พระยา พระเชษฐาของพระองค์ ซึ่งทรงกระทำ ยุทธหัตถีแย่งชิงราชสมบัติจนสิ้นพระชนม์ สถานที่ กระทำยุทธหัตถีเชิงสะพานป่าถ่าน อันเป็นจุดกึ่งกลาง วัดมหาธาตุและวัดราชบูรณะ ก็โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเจดีย์ขึ้น 2 องค์ ซึ่งปัจจุบันเหลือเพียงรากฐาน วัดราชบูรณะมีสิ่งก่อ สร้างที่น่าสนใจหลายแห่ง ได้แก่ ซุ้มประตูใหญ่หน้าวัดซึ่งเป็นศิลปะอยุธยาตอนปลาย วิหารหลวงที่เจาะพนังแทน ช่องหน้าต่างตามแบบ ศิลปะอยุธยาตอนกลาง พระปรางค์ประธานประดับปูนปั้นรูปครุฑ ยักษ์ ลิง และสิงห์ พระปรางค์องค์นี้ภาย ในมีกรุ 2 ชั้น ซึ่ง ขุดพบเครื่องราชูปโภคทองคำ พระพุทธรูป และพระพิมพ์ต่าง ๆ ในปัจจุบันจัดแสดง อยู่ใน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา
วัดพระราม
สมเด็จพระราเมศวร โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาวัดพระราม ขึ้นตรงบริเวณที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) พระราชบิดา เมื่อ พ.ศ.1912 ต่อมาได้มีการปฏิสังขรณ์ วัดนี้ในสมัยสมเด็จ พระบรมไตร โลกนาถ และอีกครั้งหนึ่งในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ สถาปัตยกรรมส่วนใหญ่ จึงเป็นฝีมือช่างสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ในปัจจุบัน วัดพระรามอยู่ติดกับบึงพระราม ซึ่งเดิมเรียกว่า หนองโสน ใกล้กับพระอนุสาวรีย์สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) และอยู่ทางทิศตะวันออกของวิหารพระมงคลบพิตร ภายในวัดยังปรากฎซากวิหารใหญ่ องค์พระปรางค์ที่มีระเบียงโอบล้อม มีพระพุทธรูปศิลาปรักหักพังตั้งเรียงรายโดยรอบ และมีพระอุโบสถอยู่ทางทิศเหนือ
วัดธรรมิกราช
ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของพระราชวังหลวง ตามตำนานกล่าวว่า พระยาธรรมิกราช พระราชบุตรพระเจ้าสายน้ำผึ้ง ได้เสวยราชย์ และสร้างวัดมุขราช ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยน ชื่อตามผู้สร้างเป็นวัดธรรมิกราช ไม่พบหลักฐานว่าสร้างในปีใด แต่คงจะเป็นวัดเก่าแก่ สมัยเดียว กับวัดพนัญเชิง เป็นวัดที่ตั้งอยู่ติดขอบเขต กำแพงพระราชวังหลวง ซึ่งต่อมา ยกเป็นวัดพระศรีสรรเพชญ์ ภายในวัดมีวิหารทรงธรรมซึ่งมีขนาดใหญ่มากตั้งอยู่ บนเนินสูง เคยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป สำคัญที่มีขนาดใหญ่เป็นพระพุทธรูปสัมฤทธิ์สมัย อู่ทองที่งดงามมาก ปัจจุบันเหลือเพียงพระเศียร และเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติเจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สำหรับพระเจดีย์ประธานเป็นทรงระฆัง แบบลังกามีปูนปั้นสิงห์ยืนอยู่โดยรอบและมีพระเจดีย์ขนาดย่อมและขนาดเล็กอีก 13 องค์ ในวิหารพระนอนประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ ที่ฝ่าพระบาทมีรอยพระพุทธบาท ปิดทองประดับกระจก

1 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ถึงถูกน้ำท่วมครั้งใหญ่๒๕๕๔ แต่โบราณเจดีย์ก็ยังคงตั้งมั่นสูงสง่า พาให้หวลเห็นแสงสีทองอร่ามตามยอดเจดีย์.^^